จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เชียงคาน


เชียงคาน

      เชียงคาน เมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำโขงสุดชายแดนไทย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ที่คงยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบประเพณี การใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งหาดูยากในปัจจุบัน เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ แห่งนี้ กำลังเป็นที่สนใจ ของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก  ภาพบ้านเก่าๆที่เรียงรายติดกันอยู่ริมถนนชายโขง ดึงดูดใจ ให้นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายรุ่นต่าง หลั่งไหลเดินทางกันมาที่นี่ บ้านเรือนที่เมืองเชียงคานจะแบ่งออกเป็นซอย เล็กๆ เรียกว่า ถนนศรีเชียงคาน ขนานคู่กันไปไปกับถนนใหญ่ ซึ่งเป็นถนนสายหลัก เริ่มตั้งแต่ถนนศรีเชียงคาน ซอยที่ 1- 24  แบ่งเป็นถนนศรีเชียงคานฝั่งบนกับฝั่งล่างซึ่งชื่อซอยเหมือนกัน   ถนนศรีเชียงคานฝั่งล่าง คือ ถนนเส้นที่เต็มไปด้วยบ้านไม้เก่าแก่ ที่พัก โฮมสเตย์ ร้านอาหาร และร้านค้าเก๋ มากมายซึ่งถนนในเส้นนี้ จะเรียกว่า "ถนนชายโขง" ซึ่ง ระยะทางกว่า  2 กิโลเมตร  เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยว นิยมมาปั่นจักรยานชมบรรยากาศ ถ่ายรูปเล่น ชมบ้านไม้สมัยเก่า แต่ก็มีบางส่วนเป็นตึกแถวสร้างใหม่ ซึ่งทาง เทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกสร้าง เพราะต้องการอนุรักษ์ สภาพแวดล้อม บริเวณถนนสายนี้ให้เป็นบ้านไม้ทั้งหมดเป็นการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคาน แต่ถึงแม้บ้านไม้เก่าๆ ถึงแม้ถูกดัดแปลง ให้เป็นร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ บ้านพักโฮมสเตย์ไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรความ สงบเรียบง่ายของวิถีชีวิต รอยยิ้มที่ แสนจะจริง ของผู้คนในเมืองนี้ ยังคงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เมืองเชียงคานแตกต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ   




คลองบางพระ จังหวัดตราด





คลองบางพระ จังหวัดตราด

           ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านบางพระ อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวไทยที่ถือว่าเป็นชุมชนการค้าเก่าแก่ของจังหวัดตราด เป็นชุมชนที่ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นด้านการท่องเที่ยวจาก ททท. ในปี 2550 ในอดีตชุมชนแห่งนี้เคยเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของคนหลายกลุ่ม เพราะทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณปากแม่น้ำตราด ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในอดีตบรรดาชาวเกาะจะล่องเรือมาทางปากแม่น้ำ เพื่อนำมะพร้าวมาส่งที่บ้านบางพระ ขณะเดียวกันพ่อค้าชาวจีนก็จะล่องเรือสำเภา นำสินค้าจำพวกเสื้อผ้าแพรพรรณและเครื่องถ้วยกระเบื้องเข้ามาขาย

        นอกจากนี้ชาวชองซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของตราดก็จะลำเลียงไม้หอม ของป่าและสมุนไพรต่าง ๆ มาทางแม่น้ำตราดเพื่อนำเข้ามาขายและหาซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นกลับไปยังที่อาศัยในป่าแถบทิวเขาบรรทัด ปัจจุบันริมคลองบางพระยังมีเรือนแถวไม้เก่าแก่ที่เคยเป็นร้านค้านับร้อยคูหาและมีร้านค้าแบบโบราณเหลืออยู่บ้างอย่างร้านขายยาไทยซึ่งมีคุณค่าควรแก่การเที่ยวชมเพื่อเรียนรู้โฉมหน้าของเมืองตราดในอดีตชุมชนรักษ์คลองบางพระได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นด้านการท่องเที่ยวจากการ ททท. เมื่อปี 2550 ในปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งชมรมรักษ์คลองบางพระขึ้นเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมชาวบางพระไว้

        ในวันศุกร์ –อาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี จะมีการจัดงาน “เล่าขานตำนานคลองบางพระ” ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศในอดีตของที่นี่ ชาวชุมชนบางพระจะพร้อมใจกัน แต่งกายย้อนยุดตลอดทั้งซอย มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าเก่าแก่ และการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายชุมชนบางพระมีบ้านเรือนเก่าอายุมากกว่า 100 ปีที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มากมาย

        ปัจจุบันอาคารบ้านเรือนแถวบางส่วนได้ดัดแปลงเป็นร้านอาหาร, เกสต์เฮ้าส์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่นิยมเดินทางมาพักในเมืองก่อนเดินทางมุ่งหน้าสู่หมู่เกาะทะเลตราด แต่ส่วนใหญ่เมื่อมาเข้าพักแล้วจะเกิดความชื่นชอบความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่นี่จะมีบรรยากาศที่คงความเป็นเสน่ห์ได้อย่างเด่นชัด จึงทำให้ชุมชนบางพระได้รับการขนานนามจากนักท่องเที่ยวว่าที่นี่คือ “เชียงคานตะวันออก”

        การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสาย 3 (สุขุมวิท) ผ่านตัวเมืองตราด - ตลาดสดเทศบาล เจอสี่แยกไฟแดงแรกให้ตรงไป20 เมตร จากนั้นสังเกตทางซ้ายมือจะพบซอยทางเข้า “ถนนธนเจริญ” อยู่ใกล้กับแยก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนธนเจริญ ด้านในจะเป็นพื้นที่ของชุมชนรักษ์คลองบางพระ ประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่เรายังไปไม่ครบทราเวลไทยซ่าส์จึงขอชวนเพื่อนๆไปเที่ยวแบบไทยเที่ยวไทยกันบ้างนะคะ


ขอขอบคุณเว็บ

http://travel.thaiza.com


วันปีใหม่




วันปีใหม่




             อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2559 (Happy New Year 2016) เป็นวันที่ใครหลายๆ คนชื่นชอบอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นช่วงวันหยุดยาวเป็นประจำทุกปี และเป็นวันที่จะได้กลับบ้านไปพบกับครอบครัวตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่ วันนี้จึงนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับวันปีใหม่ ประวัติวันปีใหม่ ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ซึ่งแท้จริงแล้ว มีหลากหลายเรื่องราวที่เราอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ วันปีใหม่ ก็เป็นได้!!

        ประวัติความเป็นมาของวันปีใหม่
หากพูดถึงวันขึ้นปีใหม่ ตามหลักความเชื่อจะไม่ยึดถือว่าวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันปีใหม่ ยกตัวอย่างเช่น วันตรุษจีน จัดเป็นวันปีใหม่ของชาวจีน, วันสงกรานต์ จัดเป็นวันปีใหม่ไทย  เป็นต้น เพียงแต่ทั่วโลกส่วนใหญ่ยึดหลักตามปฏิทินให้วันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันแรก ของเดือนแรก ในปีนั้นๆ เป็น วันขึ้นปีใหม่นั้นเอง

เดิมที ใน 1 ปี เราจะมีจำนวนวัน 365 วัน แต่ในยุคสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์อียิปต์มาปรับแต่งให้ ทุกๆ 4 ปี ให้เติมเดือนกุมภาพันธ์ ที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ให้เป็น 29 วัน ซึ่งในปีนั้นเราจะเรียกว่าเป็นปี อธิกสุรทิน
        
ความเป็นมาของวันปีใหม่ในไทย
วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่

ใน สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์

ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทย ต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป

ขอบคุณเว็บ

http://scoop.mthai.com/specialdays/3439.html
















ทัศนศึกษา




ทัศนศึกษา

      ในการไปทัศนศึกษาครั้งนี้ พวกเราได้ไปทัศนศึกษากันที่พิพิธพันธ์วิทยาศาสตร์ และดรีมเวิร์ล โดยเราได้เดินทางจากตราดตั้งแต่เวลาตีสอง ไปถึงที่พิพิธพันธ์วิทยาศาสตร์ตอนเวลาประมาณแปดโมงเช้า



   เราได้เที่ยวชมพิพิธพันธ์วิทยาศาสตร์จนถึงเวลาประมาณสิบเอ็ดโมง จากนั้นเราจึงได้เดินทางต่อไปยังดรีมเวิร์ล และได้รับประทานอาหารกลางวันที่นั่นแล้วเราก็ไปดรีมเวิลด์กันแล้วเราก็ได้เล่นเครื่องเล่นสนุกกัน มันทำให้ฉันสนุกมากแล้วก็ได้เล่นเครื่องเล่นกับเพื่อนๆมันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมากเลย  การไปเที่ยวครั้งนี้ทำให้ฉันได้ความรู้ 

















เกาะหมาก จังหวัดตราด




เกาะหมาก จังหวัดตราด

          เกาะหมาก เกาะที่ยังคงความเป็นธรรมชาติท่ามกลางท้องทะเลอันกว้างใหญ่ของฝั่งอ่าวไทย เกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามในท้องทะเลตราด รองลงมาจากเกาะช้างและเกาะกูด อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร นั่งเรือสปีดโบ้ทจากฝั่งแค่ 50 นาทีก็ถึงแล้ว

          เกาะหมากมีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสวนมะพร้าว โดยรอบมีอ่าว ชายหาดที่สวยงามและน้ำใสสะอาด เกาะที่เป็นสวรรค์สำหรับผู้รักความสงบแต๋ก็ยังไม่ละทิ้งซึ่งความสบาย หากคุณชื่นชอบการพักผ่อนอันเงียบสงบ ใกล้ชิดชายหาดและทะเลอันสวยงาม เกาะหมากเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เกาะที่มีฟ้าสีคราม น้ำทะเลใส หาดทรายขาว ทิวมะพร้าวเขียว




วัดเกาะหมาก 
                   สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตของชุมชนชาวเกาะหมากให้ยึดมั่นในแนวทางการดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งความเรียบง่ายและดีงามภายในบริเวณวัดสามารถสัมผัสได้ถึงความสงบ ภายใต้ร่มเงาของต้นโพธิ์โบราณที่แผ่กิ่งก้านให้ความร่มเย็น อุปมาได้ดั่งวัดเกาะหมากที่โอบอุ้มสังคมให้เกิดสันติสุขด้วยใบบุญของพระพุทธศาสนา ช่วยบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีลงในแผ่นดินและงอกงามอยู่ในหัวใจของชาวเกาะหมากทุกคนให้มีจิตใจงดงาม สร้างสังคมให้น่าอยู่ดังเช่นปัจจุบัน






ขอขอบคุณเว็บ
http://www.ilovekohmak.com/

http://www.ilovekohmak.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81/%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81.html