จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันปีใหม่




วันปีใหม่




             อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2559 (Happy New Year 2016) เป็นวันที่ใครหลายๆ คนชื่นชอบอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นช่วงวันหยุดยาวเป็นประจำทุกปี และเป็นวันที่จะได้กลับบ้านไปพบกับครอบครัวตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่ วันนี้จึงนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับวันปีใหม่ ประวัติวันปีใหม่ ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ซึ่งแท้จริงแล้ว มีหลากหลายเรื่องราวที่เราอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ วันปีใหม่ ก็เป็นได้!!

        ประวัติความเป็นมาของวันปีใหม่
หากพูดถึงวันขึ้นปีใหม่ ตามหลักความเชื่อจะไม่ยึดถือว่าวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันปีใหม่ ยกตัวอย่างเช่น วันตรุษจีน จัดเป็นวันปีใหม่ของชาวจีน, วันสงกรานต์ จัดเป็นวันปีใหม่ไทย  เป็นต้น เพียงแต่ทั่วโลกส่วนใหญ่ยึดหลักตามปฏิทินให้วันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันแรก ของเดือนแรก ในปีนั้นๆ เป็น วันขึ้นปีใหม่นั้นเอง

เดิมที ใน 1 ปี เราจะมีจำนวนวัน 365 วัน แต่ในยุคสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์อียิปต์มาปรับแต่งให้ ทุกๆ 4 ปี ให้เติมเดือนกุมภาพันธ์ ที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ให้เป็น 29 วัน ซึ่งในปีนั้นเราจะเรียกว่าเป็นปี อธิกสุรทิน
        
ความเป็นมาของวันปีใหม่ในไทย
วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่

ใน สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์

ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทย ต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป

ขอบคุณเว็บ

http://scoop.mthai.com/specialdays/3439.html
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น